วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

>>> Mangosteen / มังคุด



เนื้อมังคุดจะมีเนื้อนุ่มสีขาวมีรสอร่อยหวานอมเปรี้ยว ซึ่งประกอบด้วยสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่หลายชนิด เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก และยังได้กากใยจากเนื้อของมังคุดที่ช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย


ประโยชน์ของมังคุดมิได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เปลือกของมังคุดมีประโยชน์ในทางการแพทย์ซึ่งนิยมใช้กันตามภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว เช่นใช้รักษาบาดแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย แผลเป็นหนอง โดยการใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณแผล น้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำล้างแผลใช้แทนการด้วยน้ำยาล้างแผลหรือด่างทับทิม โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า รสฝาดในเปลือกมังคุดมีสารแทนนิน (Tannin) และสารแซนโทน (Xanthone) ที่มีชื่อเรียกเฉพาะชื่อเดียวกับมังคุดว่า สารแมงโกสติน (mangostin) สารแทนนินมีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สารแมงโกสตินมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง สารแซนโทนในเปลือก

มังคุดยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลากได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบว่า สารแมงโกสตีนนี้มีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแด้นท์ ซึ่งก่อให้เกิดมีประโยชน์ในด้านสุขภาพเป็นอย่างสูงโดยช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายและมีคุณสมบัติในการยับยั้งเซลมะเร็ง และมีฤทธิในการยับยั้งเชื้อHIVที่ก่อให้เกิดโรคAIDSได้อีกด้วย จากคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นส่งผลให้มังคุดเป็นผลไม้ที่มากคุณค่าสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ครบทุกส่วนทั้งในแง่ของอาหารเพื่อสุขภาพและในด้านผลิตภัณฑ์เพื่อความงามสำหรับผิวหนัง

มังคุด เอกลักษณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มังคุดมีฉายาในแถบเอเชียด้วยความภาคภูมิใจในผลไม้ชนิดนี้ว่า “ราชินีแห่งผลไม้, the queen of fruits”มีฉายาในแถบ French Caribbean ว่า “อาหารของพระเจ้า” “the food of the Gods” คนไทยรู้จักมังคุดเป็นอย่างดี รู้ว่ามังคุดเป็นยาเย็นหรือตามการแพทย์จีนเรียกว่ามีฤทธิ์ “ยิน” หลังจากกินทุเรียนที่มีรสร้อน หรือมีฤทธิ์เป็น “หยาง” แล้วต้องกินมังคุดตาม เพื่อทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลที่สำคัญคือ มังคุดเป็นผลไม้อร่อยมาก มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เป็นที่นิยมของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลไม้ส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังต่างประเทศแหล่งกำเนิดของมังคุดคาดว่าเป็นแถบหมู่เกาะมลายูและประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจุบันยังพบมังคุดเป็นพืชในป่าธรรมชาติในประเทศมาเลเซียและหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งพบ “มังคุดป่า” หรือ “มะแปม” (Garcinia costata Hemsl.) บริเวณป่ารอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนยด้วยความอร่อยของมังคุดจึงได้มีความพยายามที่จะนำมังคุดไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก แต่ดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จนัก เช่น มีการนำเข้าไปปลูกในประเทศศรีลังกา ปี พ.ศ. ๒๓๔๓ ในประเทศอินเดียตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๔๔ ในรัฐควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ และได้นำไปปลูกในเรือนกระจกในสวนพฤกษศาสตร์คิวของประเทศอังกฤษระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๓-๒๔๐๓ และผลมังคุดผลแรกของสวนคิวออกในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ และยังมีการนำไปทดลองปลูกในหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน เช่น ปานามา เพอร์โทริโก โดมินิกา คิวบา ซึ่งได้ผลผลิตไม่ดีเช่นเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาซึ่ง The United States Department of Agriculture ได้รับเมล็ดมังคุดจากประเทศจาวา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้พยายามขยายพันธุ์ทดลองปลูกในเขตร้อนของประเทศสหรัฐอเมริการวมไปถึงฮาวาย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเช่นกันดังนั้น มังคุดจึงยังคงเจริญเติบโตได้ดีในแถบแหลมมลายูและชวา พม่า ไทย ประเทศในกลุ่มอินโดจีน สำหรับประเทศไทยนับว่าเป็นสวรรค์ของคนชอบมังคุด เพราะมังคุดไทยรสชาติดี เนื้อมากเมล็ดเล็ก เปลือกบาง ในประเทศอื่นมักจะมีเปลือกหนา รสชาติเปรี้ยวจัดกว่าของไทย ประเทศไทยมีแหล่งเพาะปลูกมังคุด ๓ แหล่งใหญ่ๆ คือ ภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยามังคุดเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ทรงต้นแบบกรวยคว่ำหรือทรงพีระมิด เป็นพุ่มทึบ สูง ๑๐-๑๒ เมตร เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่อาจสูงถึง ๓๐ เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยวออกตรงข้ามใบ เป็นรูปใบพาย รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ใบคล้ายใบชมพู่ม่าเหมี่ยว หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมันท้องใบสีอ่อนกว่า เนื้อใบค่อนข้างหนาและค่อนข้างเหนียว ใบมีขนาดใหญ่ยาว กว้าง ๖-๑๑ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๒๕ เซนติเมตร ดอก มี ๒ ชนิดคือดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้จะออกที่ปลายกิ่งเป็นกระจุก ๓-๙ ดอก ดอกสมบูรณ์เพศออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือ ๒ ดอก ที่บริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกสีเขียว แข็งเหนียวจะคงอยู่และขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเป็นผล กลีบดอกสีชมพูแดงผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓.๕-๗.๐ เซนติเมตร สีเขียวอมขาว เมื่อแก่จะเริ่มมีลายสีแดงๆ หรือม่วงแดง ชาวสวนเรียกลายนี้ว่า “สายเลือด” จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงจนถึงม่วงดำภายใน ๒-๕ วัน เปลือกผลหนาค่อนข้างแข็ง ผลเกลี้ยงกลม มีสีม่วงหนาประมาณ๐.๘-๑ เซนติเมตรบริเวณเปลือกจะมีท่อน้ำยางซึ่งเป็นสารพวกแทนนินมีรสขมฝาด ซึ่งเป็นตัวช่วยลดการทำลายของแมลงได้ทางหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลงวันทองไม่สามารถเจาะเข้าไปทำลายได้ ในหนึ่งผลมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด นอกนั้นเป็นเมล็ดที่ไม่เจริญ เมล็ดมีรกสีขาวหุ้ม สีขาวนี้คือส่วนเนื้อที่ใช้กิน มีรสหวานอมเปรี้ยวการเพาะปลูกใช้เมล็ดเพาะปลูก เมล็ดควรมีขนาดใหญ่ สดและใหม่ ไม่ควรแกะเมล็ดจากผลทิ้งไว้เพราะจะทำให้เมล็ดงอกช้าหรือไม่งอกเลย ก่อนเพาะควรล้างเนื้อออกจากเมล็ดเสียก่อนเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา ควรเพาะในที่ร่ม มีความชื้นสูง ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมล็ดจะงอกภายใน ๓-๔ สัปดาห์ เมื่อมังคุดมีใบแล้ว ๒ ใบ ควรแยกใส่ถุงเพาะชำถุงละ ๑ ต้น หลังจากชำไว้ ๑ ปี ควรเปลี่ยนถุงเพาะชำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ปีที่ ๒ ต้นมังคุดจะแตกกิ่งข้าง เมื่อมีอายุครบ ๒ ปี ก็เริ่มนำลงปลูกในแปลงได้ มังคุดเป็นพืชคายน้ำ พื้นที่ที่ปลูกต้องเป็นที่ที่มีความชื้นสูง ชอบอากาศร้อน เป็นพืชที่ต้องการน้ำตลอดปี ยกเว้นช่วงก่อนออกดอกประมาณ ๑ เดือน ดินต้องมีหน้าดินลึก มีอินทรียวัตถุสูง และระบายน้ำได้ดี

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ผลใช้เป็นอาหารผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยวหอมอร่อย กินเป็นผลไม้ นอกจากจะกินเป็นผลสุกแล้ว ทางภาคใต้ของประเทศไทยยังนิยมกินมังคุดในลักษณะ “มังคุดคัด” โดยนำมังคุดดิบที่แก่จัดแต่ยังไม่สุก กล่าวคือเริ่มเห็นสายเลือด มางัดเปลือกออก โดยให้เนื้อและเมล็ดคงรูปเดิม ไม่แตกกระจายออกจากกัน แล้วนำมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปแช่น้ำเกลือที่มีความเค็มอ่อนๆ ทิ้งไว้ให้น้ำเกลือดูดซึมเข้าไปในเนื้อจนทั่ว แล้วใช้ไม้เสียบเรียงเป็นตับๆ แต่ละชุดมีเนื้อมังคุดเรียง ๕-๗ ผล มีความพยามที่จะทำมังคุดกระป๋องแต่ไม่อร่อยเนื่องจากเกิดการสูญเสียกลิ่นของมังคุดไปในกระบวนการฆ่าเชื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพาสเจอไรซ์นาน ๑๐ นาที จากการทดสอบพบว่าวิธีทำมังคุดกระป๋องที่ดีที่สุดคือ การแช่ในน้ำเชื่อมเข้มข้นร้อยละ ๔๐ ถ้าการฆ่าเชื้อแบบสเตอริไลซ์นาน ๕ นาที ซึ่งมังคุดที่มีรสเปรี้ยวเหมาะที่จะทำมังคุดกระป๋องมากกว่า ในประเทศมาเลเซียมีการทำแยมมังคุดจากการนำเนื้อมังคุดที่ไม่มีเมล็ดมาต้มกับน้ำตาลในปริมาณที่เท่าๆ กัน เติมกานพลูไปเล็กน้อย ต้มนาน ๑๕-๒๐ นาที แล้วจึงนำมาเก็บไว้ในขวดแก้ว ในประเทศฟิลิปปินส์ มีวิธีเก็บมังคุดไว้กินนานๆ ง่ายๆ คือนำทั้งเนื้อและเมล็ดไปต้มในน้ำตาลทรายแดง บางประเทศมีการนำเมล็ดของมังคุดมาต้มหรือคั่วกินเป็นของว่าง ส่วนเปลือกของมังคุดมีสารที่เรียกว่า เพกทิน (pectin) สูงมาก หลังที่ไปกำจัดสารฝาดด้วยน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นร้อยละ ๖ แล้ว จะได้เจลลี่สีม่วง มีคุณสมบัติเหมือนเจลลี่ทั่วๆ ไป สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่มีในเนื้อมังคุดในส่วนที่กินได้ ๑๐๐ กรัม ประกอบด้วย
คุณค่าทางอาหาร/สารอาหาร ปริมาณใน ๑๐๐ กรัม

พลังงานความชื้นโปรตีนไขมันคาร์โบไฮเดรตใยอาหารเถ้าแคลเซียมฟอสฟอรัสเหล็กวิตามินบี ๑วิตามินบี ๒ไนอาซิน
*ที่มา กองโภชนาการ กรมอนามัย พ.ศ. ๒๕๓๕

การใช้ประโยชน์อื่นๆ ในประเทศกานา มีการใช้กิ่งเล็กของมังคุดเคี้ยวเล่นดับกลิ่นปาก เหมือนเคี้ยวหมากฝรั่ง ในประเทศจีนใช้เปลือกมังคุดไปย้อมหนังให้เป็นสีดำจากการที่เปลือกมังคุดมีสารแทนนิน(tannin) คาเทชิน (catechin) และโรซิน (rosin) อยู่ถึงร้อยละ ๗-๑๔ ในประเทศไทยใช้เนื้อไม้ของมังคุดซึ่งมีสีน้ำตาลแก่ หนัก จมน้ำ มีความทนทานปานกลาง นำเผาเป็นถ่านไว้ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ในงานฝีมือ ใช้เป็นที่นวดข้าว หรือในงานก่อสร้างการใช้ประโยชน์ทางยาและวิธีใช้พื้นบ้านส่วนใหญ่แล้วจะใช้เปลือกผลที่สุกแล้วของมังคุดเป็นยา นิยมตากแห้งเก็บไว้ใช้ แต่ส่วนอื่นๆ ของมังคุดก็สามารถนำมาใช้เป็นยาได้เช่นเดียวกันประเทศไทย ยาไทยส่วนใหญ่ใช้เปลือกผลมังคุดแก้ท้องเสีย แก้บิด และรักษาแผล แก้ท้องเสีย โดยใช้เปลือกผลตากแห้ง ๑/๒-๑ ผล ต้มกับน้ำปูนใสดื่มแต่น้ำ แก้บิด ใช้เปลือกผลแห้ง ๑/๒ ผล ย่างไฟให้เกรียมฝนกับน้ำปูนใส ๑/๒ แก้ว ดื่มครั้งเดียวหรือใช้ผง ๑ ช้อนชา ละลายน้ำข้าวหรือน้ำสุก ดื่มทุก ๔ ชั่วโมง (ขนาดที่ใช้ ๑/๒ ผล จะได้น้ำหนักของสารสกัดประมาณ ๑๑๖ +- ๗ มิลลิกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่เพียงพอในการรักษาโรคท้องร่วงเมื่อเทียบกับขนาดที่ใช้ในการต้านเชื้อแบคทีเรียในการทดลอง)

รักษาแผล เปลือกผลต้มน้ำใช้ชะล้างแผลที่เป็นหนอง เน่าเปื่อย หรือจะใช้เปลือกลำต้นตากแห้ง เปลือกผลดิบหรือเปลือกผลสุกมาฝนเป็นยาทาแผล ประเทศอื่นๆ มีการใช้มังคุดเป็นยารักษาโรคคล้ายคลึงกันกับที่มีการใช้ประเทศไทย เช่นประเทศอินโดนีเซีย ใช้เปลือกไม้กินแก้บิด นำใบแห้งมาต้มดื่มแก้ไข้ บรรเทาอาการปวดท้อง ประเทศจีน ได้นำเข้าเปลือกมังคุดแห้งแล้วนำไปบดเป็นผงใช้เป็นยาแก้บิด นำไปสกัดใส่ยาขี้ผึ้ง (ointment) ใช้ทาแก้ผื่นแพ้ (eczema) และปัญหาทางผิวหนังอื่นๆ

เปลือกผลใช้ต้มกินเพื่อรักษาอาการท้องร่วงและทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคโกโนเรีย นำเปลือกผลไปแช่น้ำค้างคืนหรือทำเป็นชาชงเพื่อรักษาอาการท้องเสียเรื้อรังทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ และใส่สารสกัดเปลือกผลผสมในโลชั่นด้วยต้องการฤทธิ์ฝาดสมาน ประเทศฟิลิปปินส์ ใช้ใบและเปลือกต้มน้ำเพื่อรักษาอาการท้องเสีย บิด ถ่ายพยาธิ และทางเดินปัสสาวะอักเสบ ทั้งยังเชื่อว่าการกินผลมังคุดจะควบคุมอาการไข้ประเทศมาเลเซีย

ใช้ใบมังคุดชงผสมกล้วยดิบและใส่เบนโซอินไปเล็กน้อยใช้ทาแผลที่ขริบ ใช้รากต้มดื่มเพื่อรักษาอาการประจำเดือนไม่ปกติ ใช้เปลือกแก้บิดโดยมีการสกัดสารจากเปลือกชื่อว่า "amibiasine" ขายในท้องตลาดเพื่อรักษาโรคบิดประเทศแถบทะเลแคริบเบียน รู้จักมังคุดในชื่อของ "eau de Creole " ซึ่งเป็นชาจากมังคุดมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงแก้อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวหมดแรง ชาวบราซิลดื่มชามังคุดด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน

ทั้งยังเชื่อว่าการกินมังคุดจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายเป็นปกติสมุนไพร..แห่งอนาคตจากกระแสการตื่นตัวนิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติทั่วทั้งโลก

มังคุดเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากการศึกษาวิจัยล่าสุดพบประโยชน์ของมังคุดมากมาย นอกเหนือไปจากฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่รู้จักกันดีอยู่แล้วในอดีตการพบสารในมังคุดที่เรียกว่า “แซนโทน (xanthones ซึ่งมีอยู่ถึง ๔๓ ชนิด เช่น mangostin, mangostenol, mangostenone A, mangostenone B, trapezifolixanthone, tovophyllin B, alpha- and beta-mangostins, garcinone B, mangostinone, mangostanol เป็นต้น) ซึ่งมีมากในเปลือกผลและเมล็ด และมีน้อยในเนื้อผล สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่น ต้านการอักเสบและมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆอีกมากมาย ทำให้ปัจจุบันมีการสั่งเปลือกมังคุดจากประเทศไทยไปสกัดสารดังกล่าวในประเทศต่างๆ เช่น นำเข้าไปในประเทศอินเดีย โดยโรงงาน Dhanvantari Botanicals เป็นโรงงานผลิตสารสกัดและสารบริสุทธิ์ ของบริษัท Renaissance Herbs ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ซื้อเปลือกมังคุดแห้งจากเมืองไทย ซื้อแต่ละครั้งประมาณ ๑๕ ตัน ในกิโลกรัมละ ๒.๕ ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ๑๐๐ บาท) จากโรงงานทำน้ำมังคุดหรือมังคุดกระป๋องในประเทศไทยหลังจากทำการสำรวจแล้วว่าเปลือกมังคุดของประเทศไทยให้สารแซนโทนสูง ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุดมากมายทั้งในรูปแบบของการกิน เป็นยาภายนอก เป็นเครื่องสำอาง จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงพอจะกล่าวได้ว่ามังคุดเป็นสมุนไพรแห่งอนาคตที่คนไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ก่อนอื่นจำเป็นต้องรู้องค์ประกอบทางเคมีของสารในส่วนต่างๆ ของมังคุดก่อนดังนี้ ลำต้น๑. แก่นไม้ ประกอบด้วยสารกลุ่มฟีนอลิกส์ (phenolics) ได้แก่ เตตราไฮดร็อกซีแซนโทน (1, 3, 6, 7-tetrahydroxyxanthone) เป็นต้น๒. เปลือกไม้ ประกอบด้วยสารกลุ่มแซนโทน ได้แก่ แมงโกสติน (mangostin), บีตา-แมงโกสติน (? - mangostin) ใบใบประกอบด้วยอนุพันธ์แซนโทนกลุ่ม isoprenylated xanthone ได้แก่ 1, 5, 8-tri-hydroxy-3-methoxy-2-(3-methyl-2-butenyl)-xanthone สารกลุ่มไทรเทอร์พีน (triterpenes) ได้แก่ 3?-hydroxy-26-nor-9, 19-cyclolanost-23-ene-25-one นอกจากนี้ ยังมีโปรตีนประมาณร้อยละ ๗.๘ แทนนิน ประมาณร้อยละ ๑๑.๒ และใยอาหาร ผลผลมีสารที่ให้กลิ่นหอมที่มี ๖ คาร์บอนอะตอม (C6) ที่สำคัญคือ hexyl acetate, cishex-3-enylacetate, cis-hex-3-en-1-ol๑. เปลือกผล ประกอบด้วยสารกลุ่มแซนโทน ที่สำคัญ ได้แก่ แมงโกสติน (mangostin) แกมมา-แมงโกสติน (?-mangostin) บีตา-แมงโกสติน (?-mangostin) เป็นต้น สารกลุ่มแอนโทไซยานิน (anthocyanins) ซึ่งเป็นสารสีแดง มีปริมาณร้อยละ ๓๑.๒๙ ได้แก่ cyanidin-3-o-?-sophoroside, cyanidin-3-glucoside และมีแทนนิน ประมาณร้อยละ ๗-๑๔ ๒. ผลสุก ประกอบด้วยสารกลุ่มแซนโทน ได้แก่ การ์ทานิน (gartanin), 8-hydroxygartanin, นอร์แมงโกสติน (normangostin) ผลสุกบางส่วนพบแมงโกสติน และบีตา-แมงโกสติน เนื้อผลมีน้ำตาลและกรดอินทรีย์ต่างๆ เช่น กรดมาลิก กรดซิตริก เป็นต้น๓. เมล็ด มีน้ำมัน (oil) ประกอบด้วยกรดโอเลอิก (oleic acid) ร้อยละ ๕๖.๒ กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) กรดคาพริก (capric acid) เป็นต้น

โรคและอาการที่มีแนวโน้มที่มังคุดจะเป็นประโยชน์จากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาการศึกษาในห้องทดลองพบว่าโรคและอาการที่มังคุดน่าจะนำมาใช้ประโยชน์มีดังต่อไปนี้โรคและอาการทางผิวหนัง เป็นที่รู้กันมาแต่โบราณตามที่กล่าวมาแล้วของต้นมังคุดว่าเป็นสมุนไพรที่ใช้ในโรคผิวหนังได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีการศึกษายืนยันการใช้ประโยชน์ในโรคนี้ จากการศึกษาพบว่า มังคุดมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้ออย่างกว้างขวาง

มีฤทธิ์ลดการอักสบ จึงควรที่จะนำมาพัฒนาเป็นยารักษาอาการ ผื่นแพ้ รักษาสิว ยาทาแผลฆ่าเชื้อที่ผิวหนัง จากการศึกษาพบว่ามังคุดมีคุณสมบัติ ดังนี้ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองสารสกัดจากเปลือกมังคุดต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง (Staphylococcus aureus) ทั้งสายพันธุ์ปกติ และสายพันธุ์ที่ดื้อยาเพนิซิลลิน สารสำคัญที่แสดงฤทธิ์ คือ แมงโกสตินและการ์ตานิน โดยแมงโกสตินจะแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแรงที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาแวนโคไมซิน (vancomycin)สารสกัดจากเปลือกมังคุดต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง (Staphylococcus aureus) เทียบเท่ากับน้ำยาฆ่าเชื้อโพวิโดนไอโอดีน

รักษาแผลอักเสบและแผลเรื้อรังแมงโกสตินป้องกันการเกิดแผลอักเสบในหนูขาว และครีมสารสกัดจากเปลือกผลมังคุด (GM-1) สามารถรักษาแผลติดเชื้อเรื้อรังให้หายเป็นปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งแผลในผู้ป่วยเบาหวาน
ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวสารสกัดเปลือกมังคุด มีฤทธิ์ต้านเชื้อที่ทำให้เกิดสิว Propionibacterium acnes และ Staphylococcus epidermidis ที่ดีมากชนิดหนึ่ง

บรรเทาอาการแพ้แกมมา- และ แอลฟา-แมงโกสติน จากเปลือกผลมังคุด บรรเทาอาการแพ้และมีประสิทธิภาพดีในการรักษาผู้ป่วยไข้ละออง โดยแกมมา-แมงโกสติน แสดงฤทธิ์ต้านฮิสตามีน และแอลฟา-แมงโกสติน แสดงฤทธิ์ต้านซีโรโทนิน เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมแมสต์เซลล์ (mast cells) และเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดเบโซฟิล จะหลั่งฮิสตามีนและซีโรโทนิน ทำให้เกิดอาการแดงเนื่องจาก หลอดเลือดขยายตัวบวมเนื่องจากเพิ่มการซึมผ่านของหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัวและฮิสตามีนจะเพิ่มการหลั่งน้ำเมือกด้วย ซึ่งฮิสตามีนมักจะทำให้เกิดอาการแพ้หรือที่เรียกว่าไข้ละอองฟางป้องกันผิวจากแสงแดดผลิตภัณฑ์ป้องกันผิวจากแสงแดด (sunscreen) ที่ประกอบด้วยแมงโกสติน ร้อยละ ๒๐ สามารถป้องกันผิวจากแสงแดด และมีค่าดัชนีในการป้องกันแสงแดด (sun protective factor; SPF)

โรคและอาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารสารสกัดจากเปลือกผลมังคุดต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงและกลุ่มเชื้อในลำไส้ (normal floras) ได้แก่ enteropathogenic Escherichia coli, Salmonella ๖ ชนิด, Shigella ๔ ชนิด, Vibrio ๒ ชนิด เชื้ออื่นในลำไส้ ๕ สกุล สารกลุ่มแซนโทนจากเปลือกผลมังคุด ยับยั้งเชื้อเฮลิโคแบกเทอร์ไพโลรี ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนบน ได้แก่ แผลเพ็ปติก กระเพาะอาหารอักเสบ มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือแกมมา-แมงโกสติน สารในเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ต้านอะมีบา ยาดองเปลือกผลมังคุดแห้ง เมื่อใช้ร่วมกับยาเอมิทีน (emitine) ให้ผลดีในการรักษาโรคบิดที่มีสาเหตุมาจากเชื้ออะมีบา และทำให้ใช้ขนาดของยาเอมิทีนน้อยลงกว่าเดิมโรคและอาการทางหัวใจและหลอดเลือดสารแซนโทนได้แสดงคุณสมบัติหลายประการที่มีแนวโน้มว่าเป็นประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด คุณสมบัติเหล่านั้นได้แก่ ฤทธิ์ในการต้านการออกซิเดชั่น ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันหลอดเลือด คุณสมบัตินี้ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของไขมัน กลุ่มสารที่ออกฤทธิ์คือ แอนโทไซยานิน แมงโกสติน แอลฟาและแกมมา-แมงโกสติน แกมมา-แมงโกสตินแสดงฤทธิ์แรงในการต้านออกซิเดชั่น

แมงโกสตินสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน โดยป้องกันการเกิดไขมันชนิดเลว (LDL)อาการอักเสบของกระดูกและกล้ามเนื้อแมงโกสตินและอนุพันธ์ของแมงโกสติน คือ 1-isomangostin และ mangostin triacetateลดการอักเสบที่อุ้งเท้าหนูขาว เมื่อให้สารสกัดจากเปลือกผลมังคุดทางปากและฉีดเข้าช่องท้อง และสารสกัดจากเปลือกผลมังคุด (GM-1) แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดีเป็น 3 เท่าของแอสไพริน โดยไม่มีผลกดภูมิคุ้มกัน

และยังพบว่าสารสกัดของเปลือกมังคุดยับยั้งการหลั่งของฮิสตามีนและยับยั้งการสร้างพรอสตาแกลนดิน (prostaglandin E2) ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อมีอาการอักเสบโรคมะเร็งนับว่ามังคุดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็ง จากสารแซนโทนที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และนอกจากนี้ยังสารพวกคาเทชิน โพลีฟีนอล เกลือแร่ และวิตามิน ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งอีกด้วย สารสกัดของมังคุดมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ทั้งยังมีฤทธิ์ต้านเนื้องอกโดยแสดงฤทธิ์ต้านเนื้องอกในหนูถีบจักร และต้านมะเร็งที่เกิดในเนื้อเยื่อ (sarcoma-180)สารกลุ่มแซนโทนจากเปลือกผลมังคุด ยับยั้งเอนไซม์โทโพไอโซเมอเรส I และ II ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทในกระบวนการถ่ายแบบดีเอ็นเอ (DNA replication) เพื่อการดำรงชีพต่อไปของสิ่งมีชีวิต โดยเอนไซม์นี้จะคลายเกลียวซุปเปอร์คอล์ยของดีเอ็นเอเพื่อให้เอนไซม์ชนิดต่างๆ เข้ามาทำการถ่ายแบบต่อไป คุณสมบัติดังกล่าวอาจยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้สารโพลีแซคคาไรด์จากเปลือกมังคุด ที่ความเข้มข้น ๒๐ ไมโครลิตร/disc แสดงผลกระตุ้นการจับกินสิ่งแปลกปลอมของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์โรคเอชไอวีสารสกัดเมทานอล

และสารจากเปลือกผลมังคุด ยับยั้งเอนไซม์โพรทีเอส (HIV-1 pro-tease) ซึ่งจำเป็นต่อวงจรชีวิตของเชื้อเอชไอวี และสารสกัดน้ำและสารสกัดเมทานอลจากเปลือกผลมังคุด ยับยั้งเอนไซม์รีเวอร์สทรานสคริปเทส (reverse transcriptase) การศึกษาความเป็นพิษพิษต่อตับเมื่อฉีดแมงโกสตินเข้าช่องท้องหนูขาว ขนาด ๒๐๐ มิลลิกัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม พบว่าปริมาณของเอนไซม์ทรานซามิเนสในเซลล์ตับ (SGOT และ SGPT) เพิ่มขึ้น และถึงระดับสูงสุดหลังจากฉีดแมงโกสติน ๑๒ ชั่วโมง เอนไซม์ทั้งสองนี้จะเพิ่มขึ้นตามขนาดของแมงโกสตินที่ให้และเมื่อให้แมงโกสตินทางปากแก่หนูขาว ขนาด ๑.๕ กรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม เปรียบเทียบกับยาพาราเซตามอล พบว่าพาราเซตามอลจะเพิ่มปริมาณของเอนไซม์ดังกล่าว มากกว่าแมงโกสตินปริมาณโปรตีนในตับหนูขาวที่ได้รับพาราเซตามอลจะลดลง ในขณะที่หนูขาวที่ได้แมงโกสตินไม่มีการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนที่ตับแซนโทนจากเปลือกผลมังคุดที่ความเข้มข้น ๒๐๐ ไมโครกรัม/มิลลิลิตร แสดงฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ตับของหนูขาว โดยทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความคงตัว ปริมาณของเอนไซม์ทรานซามิเนสเพิ่มขึ้น ระดับฮอร์โมน Glomerular stimulating hormone (GSH) ลดลง การเกิด MDA (malondialdehyde) และ aminopyrine demethylase activity ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ พบว่าสารสกัดความเข้มข้น ๐.๐๒ ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีผลลดอัตราการหายใจของไมโตคอนเดรียเมื่อให้แซนโทน ขนาด ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม ทางปากแก่หนูขาว เป็นเวลา ๓, ๕ และ ๗ วัน ติดต่อกัน ไม่ปรากฏพิษต่อเซลล์ตับ ปริมาณของเอนไซม์ทรานซามิเนส, MDA และ aminopyrine demethylase ไม่เปลี่ยนแปลง แต่พบว่าระดับฮอร์โมน GSH เพิ่มขึ้นดังนั้น การกินมังคุดเป็นยาต้องให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสม และยังคงต้องศึกษาหาขนาดที่เหมาะสมต่อไป

พิษระคายเคืองครีมที่ประกอบด้วยสารสกัดจากเปลือกผลมังคุด (GM-1) ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรืออาการแพ้ต่อผิวหนังยาทาแผลฆ่าเชื้อจากสารสกัดเปลือกมังคุด “การ์ซิดีน” ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรืออาการแพ้ต่อผิวหนัง
ผลิตภัณฑ์ที่มีการขายในท้องตลาดยาทาแผลฆ่าเชื้อการ์ซิดีนโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้พัฒนายาทาแผลฆ่าเชื้อ “การ์ซิดีน” จากสารสกัดเปลือกมังคุด ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้ได้รับรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น จากการประชุมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาจากสมุนไพรจากคณะกรรมการอาหารและยา “การ์ซิดีน” นับเป็นยาทาแผลฆ่าเชื้อจากสมุนไพรตัวแรกของเมืองไทยที่ได้รับทะเบียนยาจากคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย

ยาสีฟันการที่เปลือกมังคุดมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้เยื่อบุช่องปากมีความแข็งแรงขึ้น ซึ่งในอดีตใช้น้ำต้มเปลือกมังคุดอมบ้วนปากเพื่อรักษาอาการแผลในปาก ทั้งยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อได้หลายชนิด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงได้พัฒนายาสีฟันผสมเปลือกมังคุดขึ้น โดยผสมใบพลูและใบฝรั่งลงไปด้วย
สบู่ การที่มังคุดมีสารฝาดสมานทำให้ผิวหนังแข็งแรง มีสารต้านออกซิเดชั่น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ต้านฮิสตามีน ทำให้สบู่ที่ผสมเปลือกมังคุดได้รับความนิยมใช้อย่างกว้างขวาง ที่มีรูปแบบทั้งสบู่เหลวและสบู่ก้อน ในประเทศญี่ปุ่นมีการทำสบู่เปลือกมังคุดไปจำหน่ายอย่างกว้างขวางสบู่มังคุดมีสรรพคุณช่วยดับกลิ่นกาย สมานผิว กระชับรูขุมขน ครีม โลชั่นที่ใช้สปามีการนำเปลือกมังคุดไปผสมในผลิตภัณฑ์สปา เช่น ครีมพอกตัว โลชั่น เกลือขัดผิว น้ำมังคุดและ

แคปซูลมังคุดปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากมังคุดและแคปซูลมังคุดจำหน่ายในตลาดโลก โดยอ้างสรรพคุณดังนี้ คือ ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในการยืดหยุ่นของข้อเข่า ทำให้สมองแจ่มใส ลดอาการภูมิแพ้ ลดอาการข้ออักเสบ ป้องกันมะเร็งน้ำมังคุด ในรูปแบบของน้ำมังคุด จะบรรจุในขวด ๗๕๐ มิลลิลิตร ซึ่งประกอบด้วย น้ำมังคุดเข้มข้นร้อยละ ๗๕ และน้ำผลไม้อื่นๆ ร้อยละ ๒๕ เช่น บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ องุ่น เชอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ ลูกแพร์และแอปเปิล การที่ต้องผสมผลไม้อื่นๆลงไปด้วย เนื่องจากน้ำมังคุดเข้มข้นนั้นจะมีส่วนของเปลือกและเมล็ดด้วยซึ่งมีปริมาณของแซนโทนสูง แต่ทำให้มีรสขม น้ำผลไม้ที่ใส่ลงไปเพื่อกลบรสและเสริมฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นแคปซูลมังคุด ในรูปแบบของแคปซูลมังคุด จะบดผลมังคุดแห้งทั้งผล บรรจุในแคปซูลขนาด ๕๐๐ มิลลิกรัม ดังตัวอย่าง ซึ่งเป็นผลมังคุดจากประเทศไทยมังคุด ผลไม้ไทย สมุนไพรสารพัดประโยชน์ที่คนไทยภาคภูมิใจ
โดย : ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร

>>> Xanthone / แซนโทน





มารู้จักประโยชน์ของ Xanthone กันนะ

ในปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่รู้จักอนุมูลอิสระและแอนตี้-ออกซิแดนท์ (anti-oxidant) เป็นอย่างดี สารต้านอนุมูลอิสระ(anti-oxidant) ช่วยซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่ถูกทำลาย ซึ่งเรารู้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระนี้สามารถพบได้ใน วิตามินซี และ อี อย่างไรก็ตามยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่ามากมายมหาศาลมากกว่าวิตามินหลายเท่า สารชนิดนี้เรียกว่า "สารแซงโทน (xanthone)" ซึ่งถูกพบมากในเนื้อมังคุดและเปลือกของมังคุด จากผลงานวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์มาหลาย 10 ปี พบว่าในธรรมชาตินั้นมีสาร xanthone แตกต่างกันถึง 200 ชนิดที่ถูกพบในผลไม้และสมุนไพรอื่นๆ ซึ่งมีสารแซงโทนอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากเหมือนที่ถูกพบในมังคุดอย่างเดียว ที่มีสารแซงโทนมากกว่า 40 ชนิด สารดังกล่าวมีคุณค่ามากมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถรักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย, ออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งและหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รวมทั้งสามารถต้านเชื้อไวรัสได้อีกด้วย


เพราะสรรพคุณอันโดดเด่นที่มีอยู่มากมายในผลมังคุด ซึ่งเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ลดคลอเลสเตอรอล และลดการเกิดเซลล์มะเร็ง อีกทั้งยังมีวิตามิน A B C ที่ช่วยบำรุงและกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อย่างดี นอกจากนี้ น้ำมังคุด เกรทเอเชีย ยังอุดมไปด้วยสารแซนโทน (Xanthone) ที่มีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายนานัปการ

ในมังคุดมีสาร Antioxidant สูงมาก และหนึ่งในนั้นคือสาร Xanthone ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ ให้ร่างกาย โดยทั่วไปสาร Xanthone จะมีอยู่ราว 200 ชนิด หนึ่งในนั้นคือ Gamma Mangostin ซึ่งช่วยติอต้านอาการอักเสบ

ประโยชน์หลักๆ ของมังคุด
1. ช่วยลดการอักเสบ
แผลอักเสบเรื้อรังเป็นอีกหลายๆต้นเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน มะเร็ง โรคไขข้ออักเสบ ความจำเสื่อม โรคหัวใจ และอื่นๆอีกหลายโรค สารแซนโทน ในมังคุด มีประโยชน์ในการช่วยต่อสู้กับการอักเสบโดยยับยั้งการแพร่ของเอนไซม์ COX2

2. ช่วยบำรุงระบบการย่อยอาหาร
หนึ่งในผลกระทบของอายุที่เพิ่มมากขึ้น คือ การลดประสิทธิภาพของกรดในกระเพาะ และมีส่วนช่วยลดแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคท้องร่วง อาการจุกเสียดท้อง ลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยระบบการย่อยอาหาร ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าสาร Xanthone สามารถฆ่าแบคทีเรียที่ไม่ดีเหล่านี้ได้ จึงช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารที่ดีขึ้นอีกด้วย

3. ป้องกันโรคหัวใจ
โรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันเกิดจากเส้นเลือดบริเวณหัวใจขาดความยืดหยุ่น สาร Xanthone ช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของเส้นเลือด พร้อมต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ เมื่อเส้นเลือดแข็งแรง จะทำให้อัตราการเกิดโรคหัวใจลดลง

4. ช่วยต่อสู้และยับยั้งเซลล์มะเร็ง
จากผลวิจัยบ่งบอกว่า สารสกัดจากมังคุด (Xanthone) ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ เซลล์ลูคีเมีย และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ซึ่งเป็นสาเหตุของการกระตุ้นมัเร็งเต้านม มะเร็งในตับ มะเร็งในกระเพาะอาหาร และมะเร็งในปอด

5. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้
สารสกัดจากมังคุด (Xanthone) ได้ถูกนำมาทำเป็นยาต้านโรคไขข้ออักเสบและอาการอักเสบ และยังเป็นยาป้องกันโรคภูมิแพ้โดยไม่มีผลทำให้ง่วงนอน และผลข้างเคียงอื่นๆ

6. ช่วยต้านโรคติดต่อ
ผลการวิจัย ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย พบว่าสารสกัดจากมังคุด (Xanthone) สามารถหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้

7. ช่วยลดความเครียด
อีกหนึ่งในประโยชน์ของมังคุด คือ ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย หลังจากรับประทาน จากผลการวิจัยพบว่า การรับประทานมังคุดเป็นประจำ สามารถสร้างสารประกอบ เซโรโตนิน ซึ่งอยู่ในซีรั่มของเลือด ทำให้หลอดเลือดหดตัวแล้วส่งต่อไปยังระบบประสาท ซึ่งมีผลดีกับการนอน อารมณ์และการรับประทานอาหาร

8. ช่วยฟื้นฟูสภาพผิว
อาการผิวเสียต่างๆ เช่น โรคผิวหนังอักเสบ ผิวเปื่อย พุพอง สิว โรคเรื้อน ผื่นแดง ตัวเปลือกในมังคุดสามารถรักษาโรคได้โดยวิธีธรรมดา อย่างการใช้ยา สเตเลอลอย์ และครีมต่างๆ แต่จากการนำสารสกัดจากมังคุด (Xanthone) ไปประยุกต์ใช้รักษาโรคผิวหนังต่างๆ สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถรักษาโรคผิวหนังได้ โดยไม่มีอาการแพ้หรืออาการข้างเคียงอื่นๆ

9. ช่วยป้องกันปัญหาทางสายตา
โรค ต้อหิน ต้อกระจก จากรังสีที่เข้ามาทำลายโปรตีนของเลนส์ในดวงตา ซึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยสารสกัดจากมังคุด (Xanthone)

ในเนื้อมังคุดและเปลือกมังคุด (pericarp) ยังมีสารสำคัญคือ แทนนิน (tanin) และสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแซนโทน (xanthones) มากกว่า 40 ชนิดอีกด้วย (5-6) ในอดีตคนไทยรู้จักการใช้ประโยชน์จากเปลือกมังคุดในการรักษาโรคท้องเสีย ท้องร่วงเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด เนื่องจากเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ฝาดสมาน (astringent) จากแทนนิน วิธีใช้คือ ใช้เปลือกสดหรือเปลือกแห้งฝนกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกแห้งต้มกับน้ำรับประทานก็ได้ผลเช่นเดียวกัน นอกจากนี้เปลือกมังคุดยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนัง เช่นกลาก เกลื้อน และผดผื่นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสารแซนโทนที่ชื่อแมงโกสติน (mangostin) มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ, ต้านเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังได้ วิธีใช้คือนำเปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบหรือทาบริเวณผื่นคัน หรือใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณที่เป็นก็ให้ผลดีเช่นกัน ซึ่งการใช้ประโยชน์จากเปลือกมังคุดมาใช้เป็นยา นับว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง (1-3)

ด้วยเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถทำการศึกษาถึงประโยชน์จากสารสำคัญที่มีอยู่ในเปลือกมังคุด คือ แทนนินและแซนโทน สารแซนโทนมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) จึงมีการศึกษามากมายที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของสารแซนโทนที่มีในเปลือกมังคุด จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าสารแซนโทนที่มีอยู่ในผลมังคุดนั้นมีมากกว่า 40 ชนิดด้วยกัน เช่น -mangostins, gartanin, garcinone E, 1,5-dihydroxy-2-(3-methylbut-2-enyl)-3-methoxyxanthone and 1,7-dihydroxy-2-(3-methylbut-2-enyl)-3-methoxyxanthone) ถูกพบจากส่วนเปลือกของมังคุด และยังมีสารแซนโทนอื่นๆที่พบที่กลีบเลี้ยงของมังคุดอีกด้วย เช่น mangostanol, alpha-mangostin, gamma-mangostin, gartanin, 8-deoxygartanin, 5,9-dihydroxy-2,2-dimethyl-8-methoxy-7-(3-methylbut-2-enyl)-2H,6H-pyra no[3,2-b]xanthen-6-one, mangostenol , mangostenone A, and mangostenone B เป็นต้น (5-6)
**สนใจผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากมังคุด ติดต่อ 08-1692-1880 / 08-9011-2149

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

>>> NEWS / ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์

>>> Product / ผลิตภัณฑ์











ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจาก สารสกัดจากมังคุด

สบู่ใส แมงโกสทาน่า
สบู่ใสทำความสะอาดผิวหน้า เอสเนเจอร์ แมงโกสทาน่า ที่ผสานคุณค่าของ กลีเซอรีน น้ำผึ้ง และสารสกัดจากเปลือกในของมังคุด ด้วยสูตรอ่อนโยนสำหรับทำความสะอาดผิวหน้าอย่างนุ่มนวล ลดเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสิว พร้อมคืนความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ ทำให้ผิวเรียบเนียลกระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับผิวธรรมดาถึงผิวมัน
วิธีใช้ : ใช้ทำความสะอาดผิวหน้า ล้างออกด้วยน้ำสะอาด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
ปริมาณสุทธิ 70 กรัม ราคา 180 บาท

โลชั่นบำรุงผิว แมงโกสทาน่า
โลชั่นบำรุงผิวกาย อุดมด้วยสารสกัด Xanthone (แซนโธน) จากเปลือกมังคุดมีคุณสมบัติเป็น Antioxidant ช่วยดูแลผิว ให้อ่อนเยาว์ ชะลอริ้วรอยก่อนวัยก่อนวัย พร้อมโปรตีนจาก Silk Fiber และอนุพันธ์ของ Vitamin E ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่มน่าสัมผัส Titanium Dioxide ช่วยปกป้องผิวไม่ให้หมองคล้ำและเกิด ริ้วรอยเหี่ยวย่นเนื่องจากแสงแดด เมื่อใช้เป็นประจำ ผิวจะแลดูสดใส เนียนนุ่มชุ่มชื่นอยู่เสมอ
วิธีใช้ : ลูบไล้โลชั่นให้ทั่วผิวกายหลังทำความสะอาดผิว ทุกเช้า เย็น หรือบ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ
ปริมาณสุทธิ 250 มิลิลิตร ราคา 380 บาท

ครีมอาบน้ำ แมงโกสทาน่า
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผิวกาย อุดมด้วยสารสกัด Xanthone (แซนโธน) จากเปลือกมังคุด เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยดูแลและปกป้องผิวพรรณจากริ้วรอยก่อนวัย อีกทั้งคืนความนุ่มชุ่มชื่นให้กับผิวด้วยคุณค่าของ Vitamin E ให้ผิวความรู้สึกผ่อนคลายในขณะอาบน้ำด้วยChamomile Extract
วิธีใช้ : เทครีมอาบน้ำลงบนฝ่ามือหรือฟองน้ำ ลูบไล้ทั่วผิวกาย ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ปริมาณสุทธิ 250 มิลิลิตร ราคา 340 บาท
Xan-Repairing Face Serum(แซน-รีแพร์ริ่ง เฟชเซรั่ม)
ด้วยสรรพคุณของสารสกัดแซนโธน (Xanthone Extract) ร่วมกับสารสกัดอื่นๆ ที่สำคัญต่อสุขภาพผิวหน้าจึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว Xan-Repairing Face Serum สามารถคืนความสมบูรณ์ให้กับเซลล์ผิวที่อ่อนเยาว์ ซึ่งมีความสามารถในการปกป้องคอลลาเจนและอิลาสตินพร้อมกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมและปรับตัวเพื่อป้องกันแก้ไขรอยแผล ฝ้า และจุดด่างดำ รวมทั้งสภาพผิวในรูปแบบของรอยเหี่ยวย่น หรือสีผิวที่ไม่สม่ำเสมออันเกิดจากการอักเสบ และปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระต่างๆ (Free Radical) ร่วมกับสรรพคุณที่ช่วยในการป้องกันกำจัดสิวอย่างมีประสิทธิภาพ Xan-Repairing Face Serum จึงช่วยคืนความอ่อนเยาว์ให้กับผิวหน้าด้วยการยกกระชับ และให้ความสดใสอย่างไม่เคยรู้สึกมาก่อน
ขนาดบรรจุ 30 มิลลิลิตร
ราคาสินค้า : ราคาขายปลีก 1,200 บาท

Xan-Tight & Lightening Eye Serum (แซน-ไทท์ แอนด์ ไลท์เทนนิ่ง อายเซรั่ม)
ผิวบริเวณรอบดวงตา มีโครงสร้างที่บอบบางและเกิดริ้วรอยได้ง่ายเป็นจุดแรกที่เราเห็นริ้วรอยนอกเหนือจากอายุที่มากขึ้นแล้ว ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเครียด ความเหนื่อยล้า และการพักผ่อนไม่เพียงพอมีผลทำให้ผิวรอบดวงตาหย่อนยาน และเกิดริ้วรอย xan-Tight & Lightening Eye Serum จึงมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาของผิวรอบดวงตาที่ต้นเหตุหลัก 3 ประการคือ กลไกการป้องกันอนุมูลอิสระ กลไกการฟื้นฟู และซ่อมแซมโครงสร้างของผิว กลไกกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและน้ำเหลืองด้วยการผสมผสานสรรพคุณของสารสกัด แซนโธน (Xanthone Extract) ร่วมกับสารสกัดสำคัญอื่นๆ จึงช่วยบำรุงผิวรอบดวงตาให้เนียนกระชับลดถุงใต้ตา รวมทั้งลบเลือนริ้วรอยและความหมองคล้ำอย่างได้ผลช่วยดูแลทะนุถนอมผิวรอบดวงตาให้กระจ่างใสในแบบที่ผู้หญิงปรารถนา
ขนาดบรรจุ 15 มิลลิลิตร
ราคาสินค้า : ราคาขายปลีก 900 บาท

แซน รีไวซิ่งเดมอยส์เจอร์ไรเซอร์ ครีมบำรุงผิวหน้าสำหรับกลางวัน
ผสมสารสกัด Xanthone จากเปลือกมังคุด
ช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะอันเป็นสาเหตุของริ้วรอยก่อนวัย
Argan Leaf extracts ช่วยบำรุงและดูแลผิวให้ชุ่มชื่นเปล่งปลัง
เติมเต็มสมดุลให้เส้นใยคอลลาเจนและอีลาสติน ฟื้นฟูโครงสร้างของผิวช่วยให้ผิวเนียนเรียบ แลดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ ช่วยให้ริ้วรอยร่องตื้นขึ้น โดยเฉพาะบริเวณ หน้าผากและร่องแก้ม
ขนาดบรรจุ 30 g
ราคาสินค้า : ราคาขายปลีก 1,400 บาท

แซน รีไวซิ่งไนมอยส์เจอร์ไรเซอร์ ครีมบำรุงผิวหน้าสำหรับกลางคืน
ผสมสารสกัด Xanthone จากเปลือกมังคุด
ช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะอันเป็นสาเหตุของริ้วรอยก่อนวัย
Argan Oil ช่วยฟื้นฟูผิวจากการทำลายของอนุมูลอิสระ
สารสกัด Artarcticine และ Argan Kemel ช่วยบำรุงและดูแลผิวให้ชุ่มชื่นเปล่งปลั่ง
ช่วยให้ริ้วรอยร่องตื้นขึ้น โดยเฉพาะบริเวณ หน้าผากและร่องแก้ม
ขนาดบรรจุ 30 g
ราคาสินค้า : ราคาขายปลีก 1,680 บาท
*** พิเศษ...! สั่งซื้อครบ 1,800 บาท วันนี้ จัดส่งฟรี จัดส่งฟรี
##สนใจติดต่อ 08-1692-1880 / 08-9011-2149 / jedi.bny@gmail.com

>>> Pay / ชำระเงิน


โอนเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร

ธนาคารกรุงเทพ
ชื่อบัญชี : Nattachai Chalermwat
เลขที่บัญชี : 207-4-16737-6
สาขา : ห้าแยกปากเกร็ด

ธนาคารไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชี : Nattachai Chalermwat
เลขที่บัญชี : 376-208352-0
สาขา : ย่อย คาร์ฟูร์ แจ้งวัฒนะ

ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อบัญชี : Nattachai Chalermwat
เลขที่บัญชี : 391-2-60199-3
สาขา : เซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์

>>> Contact / ติดต่อ


mobile :
08-4674-2149 /
08-3010-8418